วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

                                                                                    งูสามเหลี่ยม




 ลักษณะทั่วไป
     งูสามเหลี่ยมมีหัวกลม ลำตัวเรียวยาว ปลายหางมักทู่ บางตัวหัวแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน โดยมีด้าน ท้องเป็นฐาน ตัวยาวประมาณ 2 เมตร  ตัวมีสีเหลืองเป็นปล้องๆ สลับกับดำ บางชนิดหัวแดง หางแดง ตัวสีดำ เป็นงูบกที่ชอบออกหากินตามริมน้ำ  เลื้อยช้าแต่ว่ายน้ำได้เร็ว เป็นงูที่มีความว่องไวปราดเปรียวในน้ำ 
ถิ่นอาศัย, อาหาร
     พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในอินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย 
งูสามเหลี่ยมชอบกินงูขนาดเล็ก รวมทั้งกิน หนู กบ เขียด ปลา
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     ชอบขดนอนตามโคนกอไผ่ ละเมาะไม้ พงหญ้าริมน้ำ ออกหากินในเวลาพลบค่ำจนถึงกลางคืนตามลำน้ำ เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่ฉกกัด นอกจากคนเดินไปเหยียบหรือเดินผ่านขณะที่งูสามเหลี่ยมกำลังไล่กัดงูซึ่งเป็นอาหารของมัน ปกติกลางวันซึมเซา กลางคืนว่องไว เป็นงูพิษ มีพิษทำลายระบบประสาทและโลหิตรวมกัน เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆใต้ผิวหนัง มีเลือดออกตามไรฟันและไอเป็นเลือด
     งูสามเหลี่ยมวางไข่ครั้งละ 8-12 ฟอง


งูเขียวพระอินทร์
       







เป็นงู ลักษณะลำตัวเรียวยาว ปราดเปรียว เกล็ดสีเขียวแกมเหลืองลายดำ สามารถเลื้อยไต่ไปบนกิ่งไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว
 มีพิษ อ่อนแต่ไม่ร้ายแรงมาก ผู้ถูกกัดจะมีอาการอักเสบ และบวมที่บริเวณบาดแผล
ลักษณะทั่วไป
        เขียวพระอินทร์เป็นงูบก หัวกลม ว่องไวปราดเปรียว เลื้อยเร็ว ลำตัวสีเขียวอ่อน มีลายดำตลอดตัว หัวมีลายมากจนดูคล้ายกับมีหัวสีดำ ใต้คางสีขาว ใต้ท้องสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ๆ ใต้หางมีลายดำเป็นจุด ๆ
พฤติกรรม
        งูเขียวดอกหมากชอบอาศัยอยู่ตามซอกมุมบ้าน ซุ้มไม้ โพรงไม้ ออกหากินในเวลากลางวัน งูเขียวดอกหมากกิน กิ้งก่า จิ้งจก ลูกนก หนู งูที่เล็กกว่าบางชนิด และแมลงต่าง ๆ บางครั้งหาอาหารกินไม่ได้ก็ใช้วิธีบังคับแย่งอาหารกินจากตุ๊กแก จนเข้าใจกันผิด ๆ ว่างูเขียวกินตับตุ๊กแก แต่ที่จริงแล้วงูเขียวใช้วิธีรัดตัวตุ๊กแกบังคับให้อ้าปาก แล้วแย่งกินเศษเนื้อเศษแมลงที่ติดอยู่ตามซอกในปากและฟัน ไม่ใช่ล้วงเข้าไปกินตับตุ๊กแก ถ้าตุ๊กแกตัวไม่โตนักก็จะกลืนกินตุ๊กแกทั้งตัวเลย ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละ 6-12 ฟอง



 งูทับสมิงคลา









 ลักษณะ  งูขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ หัวยาวและแบน ส่วนของหัวกว้างใกล้เคียงกับลำคอ ตาค่อนข้างเล็ก ลำตัวยาวและตรงกลางของหลังเป็นสันไม่สูงมากและลำตัวไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน แต่ค่อนข้างกลม หางสั้นและส่วนปลายของหางเรียว ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดปก
คลุม เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังและทางด้านบนของหางมีพื้นผิวเรียบ เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวเดี่ยว ลำตัวมีด้านบนของหัวสีดำหรือสีเทาเข้ม ขอบปากบนสีขาวแต่แผ่นเกล็ดมีขอบสีดำบนหลังและด้านบนของหางมีปื้นใหญ่สีดำรูปอานม้าที่มีส่วน
กว้างที่สุดอยู่บนหลังและเรียวแคบลงไปทางส่วนล่างของลำตัว (หรือที่ขอบเกล็ดท้องปื้นสีดำดังกล่าวนี้ที่ส่วนต้นของลำตัวยาวกว่าที่อยู่ทางด้านท้ายของลำตัว (แต่ถ้ามองจากทางด้านบนของลำตัวลงไปหรือมองจากด้านขางของลำตัวจะเป็นปล้องสีดำสลับกับปล้องสีขาวเกล็ดที่อยู่ในปล้องสีขาวมีพื้นที่ตรงกลางของแผ่นเกล็ดสีดำ ด้านท้องและใต้หางสีขาว ชาวบ้านหลายพื้นที่มีความเชื่อว่า งูสามเหลี่ยมที่มีลำตัวเป็นปล้องสีเหลืองกับสีดำเป็นงูเพศผู้ และงูทับสมิงคลาที่มีลำตัวเป็นปล้องสีขาวกับสีดำเป็นงูเพศเมีย
        การแพร่กระจาย  เวียตนาม กัมพูชา มาเลย์เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชพบในป่าดิบแล้ง
     พื้นที่อาศัย  ตามพื้นล่างของป่าที่ใกล้ลำห้วยหรือแหล่งน้ำ
         นิสัย  ออกหากินเวลากลางคืนตามพื้นล่างของป่าที่ใกล้ลำห้วยหรือในพื้นที่ห่างไกลจากลำห้วยแต่มีความชุ่มชื้น เวลากลางวันหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ขอนไม้หรือในโพรง นิสัยประการอื่นเหมือนกับงูสามเหลี่ยม

งูแสงอาทิตย์









งูแสงอาทิตย์ สามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น มักอาศัยอยู่ใต้ขอนไม้ หรือใต้โขดหินที่มีดินเป็นดินร่วน และมีความชื้นเล็กน้อย มันเป็นงูที่อาศัยบนพื้นดิน และไม่ปีนต้นไม้ แต่อย่างใด  งูแสงอาทิตย์เป็นงูไม่มีพิษ  มีลักษณะลำตัวเป็นรูปทรง

กระบอกยาว แต่หัวของมันค่อนข้างแบนเรียว ตาเล็ก เกล็ดที่ปกคลกุมลำตัวเมื่อสะท้อนแสงแดดจะเงาแวววาวตลอดตัว จึงได้ชื่อว่างูแสงอาทิตย์ มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูมีพิษบางคนก็ว่าถ้าถูกกัดแล้วจะตายถ้าพระอาทิตย์ขึ้น จริง ๆ แล้วงูแสงอาทิตย์เป็นงูที่ค่อนข้างเชื่องและไม่เป็นอันตราย มีการดำรงชีวิตส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน อาหารของมันได้แก่ หนู กบ เขียด กิ้งก่า งูเล็ก ๆ และนก ที่มีลักษณะพิเศษคือ มีเกล็ดที่เป็นเงามันเลื่อมปกคลุมทั่วตัว   เมื่อเวลาโดนแสงแดด เกล็ดดังกล่าวจะสะท้อนแสงเห็นเป็นสีรุ้งสวยงาม  ช่่วยรักษาระบบนิเวศน์ งูแสงอาทิตย์ล่าสัตว์ขนาดเล็กแทบทุกชนิดเป็นอาหาร                 


   
งูก้นขบ
    









เป็นงูไร้พิษ ลำตัวทรงกระบอกยาวประมาณ ๓๕ เซนติเมตร หางป้อมและสั้นมาก หัวด้านหน้าแบน ปลายปากมน ตาเล็กม่านตากลม รอบตัวมีเกล็ด ๑๙ ถึง ๒๑ แถว ตัวผู้มีเดือยหนึ่งคู่โผล่ออกมาพ้นเกล็ดทวาร ลำตัวด้านบนมีสีม่วงเข้มถึงดำ ท้องสีดำมีแถบสีขาวหรือสีครีมพาดจากเกล็ดท้องขึ้นมาถึงเกล็ดสีข้าง เกล็ดลำตัวเรียบ
ออกเหลือบใต้หางมีสีแดงสด บางตัวอาจมีแถบสีแดงพาดขวางที่คอ อยู่ในน้ำหรือใต้เศษใบไม้แห้งตามพื้นป่า เวลาถูกรบกวนจะทำตัวแบนชูปลายหางขึ้นมาคล้ายหัวอีกข้างหนึ่ง ชาวบ้านจึงเรียกว่า งูสองหัว หรือ งูก้นขบ เป็นงูที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาหารของพวกมันได้แก่ หนอน งู
ตัวเล็ก ๆ ตัวอ่อนของแมลง เป็นต้น


ที่มา : http://www.school.net.th   นำมาใช้ในการศึกษา เพื่อนำไปประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น